messager
insert_drive_file ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
สมัยก่อนตำบลหนองแวงเป็นพื้นที่ป่าเบญจพรรณ เต็มไปด้วยต้นไม้นา ๆ ชนิด เพราะเชื่อมต่อกับป่าไหลเขาภูพาน มีสัตว์ป่ามากมาย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2470 ได้มีนายพรานป่าเดินทางมาจากตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ มาดักจับสัตว์บริเวณไหล่เขาภูพานและแวะพักบริเวณตำบลหนองแวง ปัจจุบัน ต่อมาพี่น้องบ้านเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้มาตั้งหมู่บ้าน ที่ริมน้ำหนองแวงและได้ทำการขุดบ่อน้ำหลายแห่ง แต่ละแห่งที่ขุดก็เจอหินลูกรังและหินก้อนขนาดใหญ่จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านหนองแวงหินขึ้นตรงต่อตำบลหมูม่น อำเภอสหัสขันธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี พ.ศ. 2503 ต่อมาบ้านสี่แยกสมเด็จ ได้ขอแยกออกจากตำบลหมูม่น มาเป็นตำบลสมเด็จ อำเภอสหัสขันธุ์ บ้านหนองแวงหิน จึงขึ้นต่อำบลสมเด็จปี พ.ศ.2507 ตำบลสมเด็จจึงขอตั้งเป็นกิ่งอำเภอสมเด็จ จึงมีการแยกตำบลขึ้นใหม่บ้านหนองแวงหิน จึงตั้งเป็นตำบลหนองแวงประกอบด้วย บ้านหนองขาม บ้านโคกกลาง บ้านโนนชาด บ้านคำไผ่ บ้านหนองผ้าอ้อม และบ้านหนองแวงในปัจจุบัน

check_circle วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
วิสัยทัศน์


check_circle ตราสัญลักษณ์
สัญลักษณ์หน่วยงาน


check_circle สภาพและข้อมูลพื้นฐาน
1.1 ลักษณะที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง เป็นเขตการปกครองของอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ทำการตั้งอยู่ที่บ้านหนองแวง หมู่ที่ 1 ตำบลหนองแวง อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีหมู่บ้านที่อยู่ในความรับผิดชอบทั้งหมด จำนวน 16 หมู่บ้าน ห่างจากที่ทำการอำเภอสมเด็จ ประมาณ 3 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอสมเด็จ ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ 38 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลใกล้เคียงดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตองค์การบริหารส่วนตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตเทศบาลตำบลนาจารย์ และเขตองค์การบริหารส่วนตำบลภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตองค์การบริหารส่วนตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ และเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยอดแกง อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขตองค์การบริหารส่วนตำบลนามะเขือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ที่ตั้ง


1.2 พื้นที่
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง มีพื้นที่ทั้งหมดโดยประมาณ 77 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 49,125 ไร่ หรือมีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด จำนวน 24,018 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินที่มี ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ และเนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย

1.3 ภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของตำบลหนองแวง ส่วนมากเป็นพื้นที่สูง อยู่ด้านทิศใต้ของตำบล ระดับความสูงประมาณ 210 เมตร ซึ่งสลับกับลูกคลื่นลอนลาด ส่วนมากบริเวณนี้จะเป็นพื้นที่ทำไร่ จะมีพื้นที่ทำนาเป็นส่วนน้อย ส่วนด้านตอนบนของตำบลคือด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จะพบว่าเป็นพื้นที่ราบซึ่งมีความเหมาะสมปานกลางในการปลูกข้าว ส่วนมากจะเป็นพื้นที่การเกษตร ลักษณะภูมิอากาศของพื้นที่ตำบลหนองแวง องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพภูมิอากาศแบบเมืองร้อน ทำให้ร้อนอบอ้าวโดยเฉพาะฤดูร้อน มีอากาศแห้งแล้งในช่วงฤดูหนาว มีฝนตกชุกและมีความชื้นสูงในช่วงฤดูฝน ได้รับอิทธิพลมาจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง แบ่งได้ 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม ถึงกลางเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ สิ้นสุดลงและลมฝ่ายใต้พัดมาปกคลุมแทนที่ทำให้อากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป และร้อนจัดในเดือนเมษายน ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดมาปกคลุมพื้นที่ทำให้มีฝนตกในช่วงเวลาดังกล่าวแต่ยังคงมีปริมาณน้ำฝนน้อย เกษตรมักไม่ได้ทำการเกษตรตรงตามฤดูกาล ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเกิดจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ และความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ปกคลุมพื้นที่ ทำให้อากาศมีความหนาวเย็นและแห้งแล้ง อุณหภูมิ พื้นที่ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ส่วนใหญ่มีพื้นที่เป็นที่ราบ ใกล้กับเทือกเขาภูพาน ทำให้มีอุณหภูมิ ค่อนข้างสูง ร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน อุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียส ในฤดูหนาว ไม่หนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 37.5 องศาเซลเซียส (ข้อมูลจากสถิติภูมิอากาศของสถานีตรวจวัดอากาศจังหวัดกาฬสินธุ์)

1.4 จำนวนหมู่บ้าน
จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง มีจำนวนทั้งสิ้น 16 หมู่ ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านหนองแวง หมู่ที่ 2 บ้านหนองขาม หมู่ที่ 3 บ้านสร้างแก้ว หมู่ที่ 4 บ้านโคกกลาง หมู่ที่ 5 บ้านโนนชาด หมู่ที่ 6 บ้านคำไผ่ หมู่ที่ 7 บ้านหนองผ้าอ้อม หมู่ที่ 8 บ้านโนนชาด หมู่ที่ 9 บ้านหนองแวง หมู่ที่ 10 บ้านพรสวรรค์ หมู่ที่ 11 บ้านดงคำ หมู่ที่ 12 บ้านหนองผ้าอ้อม หมู่ที่ 13 บ้านสร้างแก้ว หมู่ที่ 14 บ้านประชาสามัคคี หมู่ที่ 15 บ้านโนนชาด หมู่ที่ 16 บ้านหนองแวง

1.5 ประชากร
จากการสำรวจประชากรพื้นที่ในระดับตำบลหนองแวงของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยตรวจสอบประชากรจากทะเบียนบ้าน ทั้ง 16 หมู่บ้าน ดังนี้ (ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ณ เดือน เมษายน พ.ศ.2556)

ข้อมูลประชากร


2. สภาพทางเศรษฐกิจ
2.1 อาชีพ 2.1.1 อาชีพหลัก ได้แก่การทำนา 2.1.2 อาชีพรองได้แก่ 1. ทำไร่ ส่วนใหญ่ได้แก่มันสำปะหลัง 2. ทำสวน ส่วนใหญ่ ได้แก่ - ไม้ยืนต้น-ไม้ผล - พืชผัก - ไม้ดอก-ไม้ประดับ 2.1.3 อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ - โค กระบือ - สุกร - เป็ด -ไก่ 2.1.4 อาชีพค้าขาย 2.2 หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง 2.2.1 ธนาคาร - แห่ง 2.2.2 โรงแรม - แห่ง 2.2.3 รีสอร์ท 4 แห่ง 2.2.4 ปั้มน้ำมันขนาดใหญ่ 2 แห่ง 2.2.5 ปั้มน้ำมันขนาดเล็ก - แห่ง 2.2.6 โรงงานอุตสาหกรรม 1 แห่ง 2.2.7 โรงสี 16 แห่ง 2.2.8 อุตสาหกรรมในครัวเรือน 3 แห่ง

3. สภาพสังคม
3.1 สภาพทางการศึกษา 3.1.1 โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 10 แห่ง ซึ่งเป็นของรัฐบาล 1. โรงเรียนหนองแวงวิทยานุกูล ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 1 2. โรงเรียนหนองขามวิทยา ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 2 3. โรงเรียนบ้านสร้างแก้ว ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 3 4. โรงเรียนโคกกลางสมเด็จ ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 4 5. โรงเรียนบ้านคำไผ่ ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 6 6. โรงเรียนบ้านหนองผ้าอ้อม ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 7 7. โรงเรียนบ้านบ้านโนนชาด(สาขาส่วนป่าสมเด็จย่อยที่ 1) ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 10 8. โรงเรียนบ้านบ้านโนนชาด(สาขาส่วนป่าสมเด็จย่อยที่ 2) ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 11 9. โรงเรียนบ้านบ้านโนนชาด ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 15 10.โรงเรียนแก้วเสด็จพิทยาคม สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 3.1.2 โรงเรียนของเอกชนจัดการ 2 แห่ง

check_circle แผนที่ อบต.
แผนที่


check_circle สถานที่ท่องเที่ยว
check_circle ผลิตภัณฑ์ตำบล

× องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง